top of page

การตรวจสมรรถภาพปอด

ผู้คนหลายคนคิดว่าการตรวจเช็คสุขภาพประจำปีทั่ว ๆ ไปก็เพียงพอในการบ่งบอกประสิทธิภาพร่างกาย ซึ่งไม่เป็นจริงเสมอไป หลาย ๆ ท่านอาจจะพบว่าตนเองออกกำลังเพียงเล็กน้อย หรือทำงานเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็มีอาการเหนื่อย, อ่อนเพลียมากทั้ง ๆ ที่การตรวจเช็คสุขภาพประจำปีอยู่ในเกณฑ์ปกติ เหตุการณ์เหล่านี้พบได้บ่อย ๆ ทั้งนี้เนื่องจากการตรวจสุขภาพโดยทั่วไป ที่ประกอบด้วยการเจาะเลือด เอ็กซเรย์ปอด ตรวจคลื่นหัวใจ จะเป็นการตรวจเช็คร่างกายในขณะพักเท่านั้น ไม่ได้ตรวจในขณะที่ร่างกายมีการออกกำลังกายอย่างแท้จริงไม่สามารถบ่งบอกได้ว่า สมรรถภาพกายดีมากน้อยเพียงใด อีกอย่างคือ การตรวจสุขภาพประจำปีเน้นการตรวจภาวะเสี่ยงตามช่วงอายุ มากกว่าเน้นการตรวจตามภาวะเสี่ยงสุขภาพจากการทำงาน ซึ่งการตรวจอย่างหลังจะให้ผลการตรวจร่างกายที่จะบอกถึงภาวะเสี่ยงจากสุขภาพมากว่าและเกิดประโยชน์สำหรับผู้ตรวจเองมากด้วย  รายการตรวจตามภาวะเสี่ยงจากการทำงานรายการหนึ่งที่จะกล่าวถึงในวันนี้ คือ การตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด……

การตรวจสมรรถภาพปอด เป็นการตรวจที่สำคัญและมีประโยชน์ในด้านการวินิจฉัย ประเมินผล และติดตามการรักษา โรคทางระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดที่เกิดจากการทำงาน, โรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการบอกถึงความเสื่อมของหน้าที่ระบบทางเดินหายใจก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เนื่องจากปอดเป็นอวัยวะที่มีความสามารถสำรองสูง อาการเหนื่อยจึงมักเกิดหลังจากมีความผิดปกติที่ปอดเกิดขึ้นมากแล้ว    เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสมรรถภาพปอดมีหลายชนิดแต่ชนิดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือเครื่อง Spirometer (สไปโรมีเตอร์) โดยการตรวจสไปโรเมตรีย์ Spirometry เป็นการตรวจวัดปริมาตรของ อากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอด ทำได้ค่อนข้างง่ายแต่ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ที่มาตรวจเนื่องจากต้องมีขั้นตอนการสูดลมและการออกแรงเป่าอย่างเต็มที่ทางปากการวิเคราะห์ก๊าซในเลือดแดง เนื่องจากระดับก๊าซในเลือดแดงจะช่วยบอกถึงความผิดปกติในการแลกเปลี่ยนก๊าซเกี่ยวกับการรับออกซิเจนและการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ 
เมื่อไรจึงควรเข้ารับการตรวจสมรรถภาพปอดกัน…  


1.  ผู้ที่สูบบุหรี่ 
2.ใช้วินิจฉัยโรค  เช่น โรคหืด ถุงลมโป่งพอง  
3.ใช้ประเมินและติดตามการรักษา  
4.ใช้ติดตามการดำเนินของโรค   
5.ใช้ประเมินภาวะการหายใจของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด 
6.ใช้ประเมินภาวะความไม่สามารถในการทำงาน ตามข้อกฎหมาย  
7.ใช้ในการสำรวจความเสี่ยงอันตราย ที่อาจเกิดโรคปอดจากการทำงาน 
8.ใช้เพื่อการตรวจเช็คร่างกาย  
9.ใช้เพื่อการป้องกันกลุ่มเสี่ยงก่อนที่จะทำงานที่มีภาวะเสี่ยงเกี่ยวกับปอด เช่น โรงงานที่มีฝุ่น   ฝ้าย สารเคมี ต่างๆ


             ดังนั้นในผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจนอกจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (X-ray ปอด) แล้วการตรวจสไปโรเมตรีย์ก็เป็นวิธีการตรวจที่ทำให้ทราบสมรรถภาพปอดได้ เพื่อผลประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคและติดตามการรักษาและบอกถึงระดับความรุนแรงของโรคได้ ป้องกันตั้งแต่วันนี้เพื่อสุขภาพปอดที่ดี และใช้งานปอดได้เต็มที่นะครับ

ตรวจสมรรถภาพปอด  เพียง  400  บาท ที่  รพ.นวมินทร์ 9
โทร .0-2518-1818   ต่อ   101

bottom of page