การตรวจการได้ยินในคนทำงาน


ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ได้กำหนดระดับเสียงต่อเนื่องที่ยอมให้สัมผัสได้ ดังนี้
- ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกิน 91 db
- เกินกว่าวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกิน 8ชั่วโมง และ ไม่เกิน 90 db
- เกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกิน 80 db
การสูญเสียการได้ยิน ที่เกิดจากเสียงดังนั้นมี 2 ชนิดได้แก่
การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว (Temporary hearing loss) ซึ่งมักเกิดในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรกของการทำงาน และพบว่ากลับคืนสู่สภาพเดิมได้ใน 14-16 ชั่วโมง ภายหลังหยุดการสัมผัสเสียง
การสูญเสียแบบถาวร (Permanent hearing loss) เกิดขึ้นเมื่อหูได้ยินเสียงที่มีความเข้มสูงมากเป็นประจำ เป็นระยะเวลาหลายปี เกิดจากการทำลาย Cell รับเสียง ซึ่งจะไม่มีโอกาสกลับคืนสู่สภาพปกติได้
วัตถุประสงค์การตรวจการได้ยินในโรงงาน
- เป็นข้อมูลพื้นฐานในคนงานเข้าใหม่
- เป็นการค้นหาปัญหาการสูญเสียการได้ยิน ในระยะเริ่มต้น เพื่อจะได้รับการปรับปรังแก้ไข สภาพแวดล้อมทางเสียง และการใช้เครื่องป้องกัน เสียง(ear plug ,ear muff) อย่างเคร่งครัดต่อไป - เพื่อติดตามผลระบบควบคุมป้องกันด้านสิ่งแวดล้อม
ผลตรวจการได้ยินนำไปใช้ทำอะไร
-แบบที่ 1 การทดสอบสมรรถภาพการได้ยินก่อนเข้างาน(Pre Placement) เพื่อเป็น Baseline ใช้เปรียบเทียบกับปีต่อ ๆไป โดยจะคิดค่าเฉลี่ยการได้ยิน(db) ที่ความถี่ 500,1000,2000, และ 3000 Hertz (AV.SHL.) และที่ความถี่ 4000 และ 6000 Hertz (AV.NIHL.) ถ้ามีค่าเกิน 30- 45 db ไม่ควรรับเข้าทำงานในแผนกที่ต้องสัมผัสเสียงดัง
-แบบที่ 2 การทดสอบสมรรถภาพ การได้ยินประจำปี (Periodic Exam) เพื่อเปรียบเทียบว่ามีความเสื่อมของการได้ยินหรือไม่ โดยจะคิดค่าเฉลี่ยการได้ยิน(db) ที่มีค่าความถี่ 2000,3000 และ 4000 Hertz (AV.STS.) ถ้าเสื่อมลงจากเดิมเกิน 10 (db) ถือว่าผิดปกติ
ควรได้รับการตรวจซ้ำภายใน 1 –3 เดือน
ตรวจพิเศษสมรรถภาพการได้ยิน เพียง 450 บาท
ด้วยความปรารถนาดี คลินิกตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน โทร. 0-2518-1818 ต่อ 238