รู้ทันโรค / เรื่องน่ารู้
ภาวะกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในสตรีวัยหมดประจำเดือน ก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนที่สำคัญคือกระดูกหักเมื่อสูงอายุ โรคกระดูกพรุนในคนไทยมีความแตกต่างจากโรคกระดูกพรุนทางตะวันตกอย่างน้อย 3 ด้าน คือ ขนาดของปัญหาของโรคกระดูกพรุน ปริมาณแคลเซียมจากอาหารที่เหมาะสม และพันธุกรรมของโรคกระดูกพรุน ขณะนี้นักวิจัยไทยได้ให้ความสนใจพัฒนาวิธีการตรวจลักษณะทางพันธุกรรมในการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกในตัวอย่างคนไข้ไทย โดยคาดว่าจากการตรวจกรองหาความผิดปกติของยีนตั้งแต่ต้น จะช่วยให้วางแผนในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคตได้
สาเหตุ ความผิดปกติของยีน ปัจจัยทางด้านโภชนาการ และ ฮอร์โมนเพศหญิง
อาการ ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการอะไร จนกระทั่งกระดูกพรุนและจางมากจึงจะเกิดอาการต่างๆ ได้แก่ ปวดกระดูกหลัง น้ำหนักลด ส่วนสูลด หลังโก่ง หลังค่อม ตัวเตี้ยลง เตี้ยลง กระดูกแขนขาเปราะและหักง่าย
การรักษา ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย และอาการที่ปรากฎของโรค
การป้องกัน
-
ป้องกันการสูญเสียความแข็งแรงของกระดูกลงได้ โดยรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมมากร่วมกับวิตามินที่เร่งการดูดซึมคือ วิตามิน ดี และ ซี รับประทานแคลเซี่ยมที่อยู่ในรูปของยาเพิ่มเติม
-
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยเพิ่มต้นทุนของเนื้อกระดูกให้หนาแน่นมากขึ้น
-
เลิกสุราและบุหรี่ จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงและชะลอการเกิดภาวะกระดูกพรุนลงได้ เนื่องจากสุรา กาแฟ และบุหรี่ เป็นสารที่ชะลอการดูดซึมแคลเซียม