top of page

การฝังเข็ม

E-cardฝังเข็ม.jpg

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรองให้การฝังเข็มเป็นศาสตร์การรักษาโรคอีกแขนงหนึ่ง การฝังเข็มให้ผลการรักษากับกลุ่มอาการและโรคต่างๆ เช่น กลุ่มอาการปวด

การฝังเข็ม เป็นเทคนิคการรักษาที่ช่วยกระตุ้นอวัยวะของร่างกาย โดยการใช้เข็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่เล็กกว่าเข็มฉีดยา แทงผ่านผิวหนังตามจุดเฉพาะต่างๆ  เพื่อให้ร่างกายกลับมาอยู่ในภาวะสมดุล

ระยะเวลาการักษา การฝังเข็มแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 30 นาที สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง อย่างต่อเนื่อง ขึ้นอยู่ความรุนแรงของอาการและดุลยพินิจการรักษาของพทย์

การฝังเข็มเหมาะสมกับผู้ป่วยแบบใด

- ผู้ป่วยที่ไม่ต้องการรักษาด้วยยา

- ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาหลายๆชนิด

- ผู้ป่วยที่มีปัญหาหยุดยาที่ใช้รักษาโรคไม่ได้ เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด

- ผู้ป่วยที่ต้องการรักษาแบบผสมผสานระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน

ข้อห้ามในการฝังเข็ม

- ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ (Pacemaker)

- ผู้ป่วยมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)

- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดทีมีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือด

- ผู้ป่วยโรคติดเชื้อต่างๆหรือโรคผิวหนัง

- ผู้ป่วยเป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างแน่นอน

- สตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อนฝังเข็ม

- พักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมง

- รับประทานอาหารก่อนเข้ารับการรักษา 1-2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเป็นลมสำหรับผู้ที่มีอาการกลัวเข็ม

- ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป

- ไม่เป็นโรคที่เป็นข้อห้ามในการฝังเข็ม

bottom of page